อนามัยสิ่งแวดล้อม
แนวคิด
1.สิ่งแวดล้อมที่ไม่สมดุลเกิดเป็นมลพิษ มีผลกระทบต่อสุขภาพ ความไม่สุขสบาย
ก่อเหตุรำคาญทำให้มนุษย์เกิดความเจ็บป่วย ความพิการและอาจเสียชีวิต
การอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการพัฒนาปรับปรุงแก้ไข
และควบคุมเพื่อให้สิ่งแวดล้อมในชุมชน เอื้ออำนวยต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชน
การอนามัยสิ่งแวดล้อมมีขอบเขตกว้างขวาง
ทั้งนี้เพื่อควบคุมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในชุมชน
2.ปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อม
ที่สำคัญต่อการดำรงชีพของประชาชน คือ ปัญหามลพิษทางอากาศ ปัญหาน้ำเสีย
ปัญหาสิ่งปฏิกูล และปัญหามูลฝอย
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาพ ต่อชุมชน
และเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของสัตว์และแมลงนำโรค
3.การป้องกันและการแก้ไขปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อม
ต้องร่วงมือกับทุกฝ่ายโดยรัฐจะต้องกำหนดนโยบายให้ชัดเจน
มีการกำหนดกลวิธีต่างๆในการให้ความรู้กับประชาชน มีการสร้างความร่วงมือในชุมชน
เพื่อแก้ไขปัญหาและอนามัยสิ่งแวดล้อมไม่ให้เกิดมลพิษ รวมทั้งมีการควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการทางกฎหมายควบคู่กันไป
ความหมายของอนามัยสิ่งแวดล้อม
หมายถึง จัดการหรือควบคุมปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยการเจริญเติบโตและการอยู่รอดของมนุษย์เพื่อให้มนุษย์มีสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
หมายถึง จัดการหรือควบคุมปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยการเจริญเติบโตและการอยู่รอดของมนุษย์เพื่อให้มนุษย์มีสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ความสำคัญของการอนามัยสิ่งแวดล้อม
ในระบบนิเวศมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์และอาศัยซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิดในลักษณะที่สมดุล
ซึ่งอาจจำแนกสิ่งแวดล้อมได้เป็นหลายลักษณะ เช่น
เมื่อจำแนกองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมได้เป็น 4 ลักษณะ คือ
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (อากาศ ดิน น้ำ ลม เป็นต้น)
สิ่งแวดล้อมทางเคมี (แร่ธาตุ โลหะ สารประกอบเคมีต่างๆ เป็นต้น)
สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (จุลินทรีย์ พืช สัตว์ มนุษย์)
สิ่งแวดล้อมทางสังคม(พฤติกรรม จารีตประเพณี วัฒนธรรม เป็นต้น)
เนื่องจากมนุษย์ใช้สิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีพและดำเนินกิจกรรมต่างๆตลอดเวลา
ซึ่งผลจากการใช้สิ่งแวดล้อมดังกล่าวอาจก่อให้เกิดของเสียหรือเหลือใช้ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แต่กลับเป็นโทษต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
รวมทั้งมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเองด้วย ที่เรียกว่ามลพิษสิ่งแวดล้อมนั้นคือ
ระบบนิเวศอยู่ในภาวะไม่สมดุลซึ่งจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ทั้งทางด้านความเป็นอยู่และสุขภาพโดยตรง
ทำให้เกิดความเจ็บป่วย ความพิการหรือเสียชีวิต
ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงและจำนวนของมลพิษ
ขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
1.การจัดหาน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค
2.การบำบัดและควบคุมมลพิษทางน้ำ
3.การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
4.การควบคุมภาหะนำโรค
5.การป้องกันและควบคุมมลพิษทางดิน
อันเกิดจากสิ่งปฏิกูลของมนุษย์ และสารบางอย่างอาจทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ พืช
สัตว์
6.การสุขาภิบาลอาหาร นม ผลิตภัณฑ์นม
7.การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
8.การป้องกันอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี
9.อาชีวอนามัยและความปลอดภัยโดยเฉพาะการควบคุมอันตรายของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
เคมี และชีวภาพในการประกอบอาชีพ
10.การควบคุมมลภาวะทางเสียง
ควบคุมเสียงดังเป็นระยะเวลานาน
11.การจัดการสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย
ให้มีสุนทรียภาพสวยงาม สะอาด ปลอดภัย รวมทั้งโรงเรียน โรงพยาบาล
12.การวางผังเมือง มิให้เกิดปัญหาจราจร
มิให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
13.การจัดการสิ่งแวดล้อมทางคมนาคม ทางน้ำ
และทางบก
14.การป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ
15.การจัดการสิ่งแวดล้อมและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสถานที่ท่องเที่ยวให้มีความสะอาด
ปลอดภัย และสวยงาม
16.การจัดการสุขาภิบาลเมื่อเกิดโรคระบาด
เหตุฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และการอพยพย้ายถิ่นของประชากร
17.การป้องกันเพื่อให้สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปปราศจากความเสี่ยงและอันตราย
สาเหตุที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและมีผลกระทบต่อมนุษย์
1.สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม
1.สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม
- การใช้ที่ดินเพิ่ม การทำลายป่า
- การอพยพย้ายถิ่น ซึ่งเกิดชุมชนแออัด อยู่กันไม่เป็นระเบียบ สุภาพไม่ดี
- การทิ้งของเสียเพิ่ม
- ขยะมูลฝอย
- ขาดน้าสะอาด
2.สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม
อันเนื่องมาจากการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยี
- พัฒนาด้านเกษตรกรรม การใช้สารเคมีในการเพิ่มผลผลิต ยาปราบศัตรูพืช
- พัฒนาด้านอุตสาหกรรม นำสารเคมี กัมมันตรังสี รถพ่นควันสี
- การทิ้งของเสีย
- ทำลายสาธารณสมบัติ
4.ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
- ผลกระทบต่อระบบนิเวศ เช่น จากสภาพน้ำเน่าเสีย สภาวะไม่เหมาะสมในการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ เช่น ภาวะขาดออกซิเจน การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรค เมื่อพืชและสัตว์น้ำบางประเภทตายไป ก็จะส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทำให้เสียสมดุลในระบบนิเวศวิทยา
- ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย
- มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
- มีผลให้ภูมิต้านทานโรคลดต่ำลง
- ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพจิต
- เป็นปัจจัยส่งเสริมโรคที่มีอยู่ให้รุนแรงมากขึ้น
- ผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เช่น ปัญหาดินเสื่อมคุณภาพ ไม่เอื้ออำนวยต่อการเกษตร ผลผลิตลดลง รายได้ลดลง รายได้ของรัฐน้อยลง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโดยรวมได้ในที่สุด
5.ภาวะมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
ภาวะสิ่งแวดล้อม หมายถึง
สภาวะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือปนเปื้อนโดยมลพิษซึ่งทำให้คุณภาพขงสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง
เช่น
- มลพิษทางน้ำ
- มลพิษที่ตกค้างในดิน
- มลพิษทางอากาศ
- สารปนเปื้อนในอาหาร
- มลพิษทางเสียง
- แมลงและสัตว์นำโรค
- มลพิษทางฝุ่นละออง
- ขยะและสิ่งปฏิกูล
6.การควบคุมมลพิษทางน้ำ อากาศ เสียง ดิน
ขยะมูลฝอย
ทางน้ำ
- ตรวจคุณภาพน้ำสม่ำเสมอ
- ควบคุมการทิ้งของเสียจากโรงงาน หรือแหล่งชุมชนลงสู่แหล่งน้ำ
- ปรับปรุงวิธีการเกษตรเพื่อลดปริมาณสารพิษสู่แหล่งนี้ ควบคุมการใช้วัตถุมีพิษ
ทางอากาศ
- ตรวจคุณภาพโดยสม่ำเสมอ
- ควบคุมก๊าซและสารเคมี ไม่เกินมาตรฐานที่ตั้งไว้ (รถ,เรือ)
- ควบคุมการปล่อยของเสียที่มีผลต่อคุณภาพอาหาร ซึ่งโรงงานปล่อยออกมา ชุมชนหนาแน่น ปรับปรุงการจราจรให้คล่องตัว
เสียง
- ตรวจสอบหรือวิธีการลดความดังเสียงหรือจากแหล่งกำเนิดอย่างสม่ำเสมอ
- กำหนดมาตรการเฉพาะสำหรับป้องกันเสียงรบกวนที่เกิดจากสถานประกอบการ
- ควบคุมการป้องกันการก่อให้เกิดเสียงรบกวนด้วยวิธีต่างๆ
ขยะมูลฝอย
- ควบคุมการทิ้งขยะ ทำลายให้ถูกสุขลักษณะ
- ปรับปรุงการเก็บ ทำลายให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
- ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลจากโรงงาน ควรทำลายโดยเฉพาะ
7.องค์ประกอบในการบริหารจัดการ
- การพึ่งตนเอง
- การพึ่งพิงกัน
- เร่งพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะของหน่วยงานและบุคลากร
- การรวบรวมข้อมูลและเฝ้าระวังสถานการณ์
- การระดมทรัพยากรสนันสนุน
- การสื่อสาร/ข้อมูลข่าวสาร
- การสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรชุมชน
- การประสานงานกับหน่วยงาน/องค์กร
- มีแผนปฏิบัติการชัดเจน
- การใช้มาตรการทางกฎหมาย/กฎระเบียบ/มาตรฐาน
- การทำงานที่ต่อเนื่อง